วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว

1

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันเฉียงเหนือของพระบรมราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระมหามณีรัตนปฏิมากร ( พระแก้วมรกต ) และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 -9 ตลอดทุกรัชกาล ภายในพระอุโบสถ และระเบียงรอบวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามมาก สิ่งที่น่าสนอื่นๆ ภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ฯลฯ
พระอารามหลวงในบริเวณพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ เป็นหนึ่งในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกๆ ของประเทศ ที่เปิดเผยออกสู่สายตาของชาวโลกเมื่อแรกเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 50 ปีก่อน นอกจากความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร “ พระแก้วมรกต ” สถาปัตยกรรมหลายยุคสมัยที่สร้างเสริมสืบต่อกันมาและการตกแต่งประดับประดาอันอลังการ ก็เป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจ โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังรอบพระระเบียงคด เรื่องรามเกียรติ์อันวิจิตรตระการตาและมีความยาวที่สุดในโลก เพลงชาติไทย
จากการสำรวจโดยกรุงเทพโพลของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อต้นปี 2553 นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่นชอบมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย เรียกว่าได้คะแนนเสียงทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างเป็นเอกฉันท์ สมศักดิ์ศรีความเป็น “ สุดยอดของสุดยอด ” แหล่งท่องเที่ยวไทยในดวงใจอย่างแท้จริง
ศาลาเครื่องอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมราชวังด้านขวามือก่อนถึง ทางเข้าพระราชวังส่วนใน จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ และเงินตราที่ใช้ในประเทศไทยรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักฝ่ายใน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 225-0968 เพลงชาติไทย
พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม ( สำหรับชาวต่างประเทศเสียค่าเข้าชม 125 บาท ) ซึ่งราวมบัตรเข้าศาลาเครื่องราชอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ค่าเข้าชมพระที่นั่งวิมารเมฆ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 222-0094 , 222-6889 และ 224-3273
ขอบคุณที่มา thai.tourismthailand.org
เรื่องนี้ถูกเขียนใน เพลงชาติไทย, เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น